วันศุกร์, 26 กรกฎาคม 2567

Exhuma x มหัศจรรย์เกาหลี ลัทธิคนทรงเจ้า

Exhuma x มหัศจรรย์เกาหลี ลัทธิคนทรงเจ้า

เมื่อได้ยินคำว่า ‘ลัทธิคนทรงเจ้า’ ภาพแรกที่เรานึกถึงอาจเป็นภาพที่ดูเก่าแก่และไม่เข้ากันกับประเทศที่มีภาพลักษณ์นำสมัยและมั่งคั่งอย่างเกาหลีใต้เท่าไรนัก คนทรงเจ้าที่ปรากฏในภาพจินตนาการของคนไทยส่วนใหญ่คงเป็นคนแก่ แต่งตัวโบราณ ท่าทางแปลกประหลาดอย่างไม่ต้องสงสัย

แต่ภาพยนตร์ Exhuma กลับนำเสนอภาพลักษณ์ของคนทรงที่ต่างออกไป ในหนังเรื่องนี้ เรามีโอกาสได้เห็นคนทรงเจ้าเกาหลีพูดญี่ปุ่นน้ำไหลไฟดับ สวมผ้าใบคอนเวิร์สร่ายระบำบูชายัญบนภูเขา ใช้ลำโพงมาร์แชลประกอบพิธีกุด (굿) สื่อสารกับวิญญาณ เข้ายิมเพื่อรักษาหุ่น สุขภาพ และความอึด ตลอดจนใช้ชีวิตปะปนกับคนทั่วไปด้วยภาพลักษณ์และบุคลิกแบบคนรุ่นใหม่

คุณลักษณะทั้งหมดนี้ Exhuma x มหัศจรรย์เกาหลี ลัทธิคนทรงเจ้า ไม่ได้ถูกเขียนขึ้นเพื่อความเท่ของตัวละครเพียงเท่านั้น

คุณลักษณะทั้งหมดนี้ Exhuma x มหัศจรรย์เกาหลี ลัทธิคนทรงเจ้า ไม่ได้ถูกเขียนขึ้นเพื่อความเท่ของตัวละครเพียงเท่านั้น

แต่ยังสะท้อนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสายมูแห่งคาบสมุทรเกาหลี “มู” ที่ไม่ได้ย่อมาจากมูเตลู แต่เป็น “มูซก” (무속) หรือลัทธิคนทรงเจ้าที่ยังคงเติบโตและเป็นที่ศรัทธาของชาวเกาหลีมากมาย อ้างอิงจากข้อมูลทางสถิติ ในบรรดาคนเกาหลีทุกๆ 160 คนจะมีคนทรงปะปนอยู่ 1 คน และในทุกๆ ปี จะมีพิธีของลัทธิคนทรงจัดขึ้นกว่า 60,000 พิธีทั่วเกาหลีใต้ นั่นหมายความว่าผู้เชี่ยวชาญด้านการเชื่อมต่อกับโลกวิญญาณเหล่านี้อาจเป็นคนรุ่นใหม่ที่ใช้ชีวิตประจำวันอยู่ร่วมกับคนในสังคมไม่ต่างจากฮวาริม (รับบทโดย คิม โกอึน) และบงกิล (รับบทโดย อี โดฮยอน) นี่แหละ

นอกจากหัวใจสำคัญเกี่ยวกับแผลประวัติศาสตร์ที่คนเกาหลีมีร่วมกันจากการสู้รบและตกอยู่ใต้อำนาจของญี่ปุ่นในอดีต หลายโมเมนต์เล็กๆ ในภาพยนตร์ยังสื่อให้เห็นถึงอิทธิพลที่มูซกมีต่อความเชื่ออื่นๆ ที่ถูกเผยแผ่เข้ามาในเกาหลีภายหลัง ไม่ว่าจะเป็นซินแสคิม (รับบทโดย ชเว มินชิก) ที่ทำงานกับฮวงจุ้ยซึ่งเป็นแนวคิดที่ผูกพันกับขงจื๊อ หรือตัวละครสัปเหร่อโก (รับบทโดย ยูแฮจิน) ที่เราได้เรียนรู้ในภายหลังว่าเป็นคริสเตียน (อ้าว! 

แดเนียล ทิวดอร์ (Daniel Tudor) ผู้เขียน “มหัศจรรย์เกาหลี” ได้กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างหลากความเชื่อในเกาหลีที่โยงใยตัดกันไม่ขาดเอาไว้เช่นกัน